วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 4 สารคดีที่สนใจ


Nails





คือ ชั้นของหนังกำพร้าที่ตายแล้ว ซึ่งเลื่อนจากชั้นล่างขึ้นมาอัดกันแน่นเป็นชั้นๆกลายเป็นแผ่นแข็งที่อยู่บริเวณด้านหลังของปลายนิ้วปล้องสุดท้าย ทั้งนิ้วมือ เรียกว่า เล็บมือ ที่นิ้วเท้า เรียกว่า เล็บเท้า ทั้งนี้ เล็บมือมีหน้าที่ป้องกันอันตรายต่างๆไม้ให้เกิดแก่ปลายนิ้ว รวมถึงใช้ประโยชน์ในการขูดหรือจิก

เล็บมีลักษณะเป็นแผ่นแข็ง และค่อนข้างโปร่งแสง สามารถอ่อนตัวได้ ไม่มีหลอดเลือด และเส้นประสาทมาเลี้ยง ทำให้เวลาตัดเล็บจึงไม่รู้สึกเจ็บ เล็บนี้จะแข็งแรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับเซลล์มีชีวิตบริเวณโคนเล็บที่เรียกว่า เรียกว่า Matrix ซึ่งหากร่างกายได้รับสารอาหารหลักที่จำเป็นในการสร้างเล็บที่เพียงพอก็ย่อมทำให้เล็บมีความแข็งแรง สารเหล่านี้ ได้แก่ โปรตีน ฟอสฟอรัส และแคลเซียม เป็นต้น






ส่วนประกอบของเล็บ

1. Cuticle เป็นหนังรอบๆ เล็บมีหน้าที่ป้องกัน Matrix มี 2 ส่วน คือ
– Perionycium เป็นส่วนนอกที่อยู่รอบๆ เล็บซึ่งเป็นส่วนนอกสุดของหนังกำพร้า (Stratum corneum)
– Eponycium อยู่ใต้หนังส่วนนอก เป็นหนังบาง ๆ เกาะติดอยู่กับตัวเล็บ (Nail plate)
2. Lanula เป็นวงรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวอยู่บริเวณโคนเล็บทุกเล็บ แต่มักจะมองเห็นได้ชัดเจนเฉพาะนิ้วโป้ง เซลล์ในส่วนนี้มีเคราตินอยู่เพียงบางส่วน มีสีจางกว่าส่วนอื่นๆบนเล็บ เนื่องจาก เป็นส่วนของตัวเล็บ ที่แยกตัวไม่ติดกับเนื้อเยื่อเส้นใยอันหนาแน่นในบริเวณโคนเล็บ
3. Nail wall เป็นส่วนของผิวหนังที่อยู่รอบเล็บทั้งสามด้าน ทำหน้าที่ช่วยป้องกันเล็บจากอันตรายที่มากระทบ และช่วยให้เล็บได้รูปทรง
4. Nail plate เป็นส่วนสำคัญของตัวเล็บที่เกิดจากการเรียงตัวของเซลล์ชั้น stratum lucidum จากผิวชั้นหนังกำพร้านูนขึ้นมาเกาะติดกันแน่นจนเป็นเนื้อเดียวกันกับ Nail bed ที่อยู่ข้างใต้เซลล์ของตัวเล็บจะจัดเรียงซ้อนอยู่ติดกันด้วย เคราตินทำให้เล็บแข็ง
5. Free edge เป็นส่วนของตัวเล็บ (Nail plate) ที่ยาวออกไปพ้นปลายเล็บและไม่ติดอยู่กับเนื้อเยื่อรองเล็บ (Nail bed) มีสีค่อนข้างขาวเป็นส่วนที่แข็งที่สุดของเล็บ
6. Nail bed เป็นเนื้อเยื่อชั้นหนังแท้ที่ประกอบด้วยเส้นเลือด และปรายประสาทที่มีชั้นบางๆของ stratum germinativumในผิวชั้นหนังกำพร้าเชื่อมโยง Nail bed ให้ติดกับ Nail plate ถ้าเล็บเลื่อนออกไป ผิวหนังกำพร้าในชั้นนี้ยังคงติดอยู่กับเล็บ ส่วนนูนของ Nail bed จึงยังติดอยู่กับเล็บข้างบน เมื่อเล็บยาวไปเรื่อยๆ จึงทำให้เล็บคงรูปอยู่ได้เนื้อเยื่อรองรับเล็บนี้เป็นส่วนที่ทำให้เล็บมีสีออกชมพู
7. Nail groove เป็นร่องลึกด้านข้างๆเล็บ ตามแนวเล็บที่ยาวออกไปช่วยดูแลเล็บ และเนื้อเยื่อรองเล็บไปพร้อมๆ กัน
8. Hyponycium เป็นบริเวณผิวเนื้อข้างใต้ของ Free edge ซึ่งเป็นปลายเล็บที่ไม่ติดกับเนื้อเยื่อรองเล็บ
9. การเจริญเติบโตของเล็บ (Nail Growth) เล็บจะยาวในอัตราเฉลี่ยระหว่าง 0.5-1.2 มิลลิลิตร/สัปดาห์เล็บเท้าจะยาวช้ากว่าเล็บมือ และถ้ามีปัญหาสุขภาพหรือเล็บหลุดจะใช้เวลาเล็บขึ้นเต็มเล็บ 5-6 เดือน ส่วนเล็บเท้าใช้เวลา 12 เดือนขึ้นไป
10. เล็บจะยาวตลอดเวลาแต่เมื่ออายุมากขึ้นการเจริญเติบโตจะช้าลง
11. ถ้ามีอาการป่วยไข้หรือไม่สบายจะส่งผลกระทบต่อเล็บด้วย เช่นเดียวกับผิวหนัง และผม




การเจริญของเล็บ


เล็บมีการแบ่งตัวแบบไมโตซีสเป็นเซลล์ที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเส้นใยแบบแน่นหนาในชั้นหนังแท้ การเจริญเติบโตของเล็บจะเกิดขึ้นที่ส่วนนี้ โดยมีหลอดเลือด และหลอดน้ำเหลืองมาเลี้ยงเซลล์ให้แข็งแรงสุขภาพดี โดยมีโปรตีนที่แปรสภาพเป็นเคราติน (Keratin) สะสมอยู่ด้วย เมื่อเซลล์ของเล็บยาวงอกออกมาจากบริเวณโคนเล็บ เคราตินซึ่งติดมากับเล็บจะทำให้เล็บแข็ง เล็บที่งอกออกจาก Matrix บริเวณโคนเล็บจนถึงปลายเล็บจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน

ในระหว่างที่เล็บเริ่มงอกออกมาพ้นบริเวณโคนเล็บเซลล์ที่มีชีวิตจากส่วนของ Matrix จะกลายเป็น Dead cells ที่อัดกันแน่น และยึดติดกันด้วยความชุ่มชื้น และไขมันที่ติดมาด้วยเพียงเล็กน้อย เมื่อเซลล์ของเล็บเคลื่อนตัวออกมาจะเกาะอยู่บนเนื้อเยื่อรองรับเล็บ (Nail bed) โดยมีเคราตินสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งยาวถึงปลายนิ้วเล็บก็จะมีโครงสร้างที่สมบูรณ์เพื่อทำหน้าที่ป้องกันเนื้อเยื่อรองรับ
เล็บ และถ้าไม่มีเล็บคอยป้องกันจะทำให้เส้นเลือด และปลายประสาทที่ปลายนิ้วได้รับอันตราย และช่วยทำให้นิ้วมือทำงานได้เป็นปกติดี

การพัฒนา และการสร้างเล็บ เล็บในคนเริ่มสร้างตั้งแต่อยู่ในครรภ์เมื่ออายุได้ 9 อาทิตย์ โดยเกิดจากการเว้าเข้าไปของ epidermis ของ dosal tip และจะเสร็จสมบูรณ์ เมื่อตัวอ่อนอายุได้ 20 อาทิตย์ หลังจากนั้น เล็บจะเติบโตโดยการแบ่งตัวของ keratinizing cells และการขยายตัวของส่วน nail bed การเจริญเติบโตของเล็บจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วน dorsal และ intermediate จะมาจากส่วน traditional matrix ของตัวอ่อน และส่วน ventral layer จะมาจากส่วน nail bed จาก distal ถึง lanula

เล็บต่างจากผมตรงที่เล็บมีการเจริญเติบโตงอกเรื่อยๆตลอดชีวิต โดยในเด็กจะมีการเจริญเติบโตได้เร็วกว่าในผู้ใหญ่ (19-23 ปี ) โดยมีการงอกทุกเดือน 2 มิลลิเมตร เพศชายจะงอกได้ไวกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะในมือข้างที่ถนัด และพบว่าเล็บทางขวาจะงอกเร็วกว่าซ้าย แต่ละนิ้วมือก็มีอัตราเร็วที่ไม่เท่ากัน นิ้วกลางจะงอกเล็บเร็วที่สุดในขณะที่นิ้วก้อยมีอัตราการงอกเล็บช้าที่สุด อัตราการงอกเล็บโดยทั่วไปมีค่า 0.5-1.2 มิลลิเมตร/อาทิตย์ และยังพบว่าอัตราการงอกของเล็บจะเร็วในกรณีที่เกิดความผิดปกติของเล็บในการทดแทนเล็บทั้งหมดที่เสียไปจะต้องใช้เวลา 5 เดือนครึ่งในเล็บนิ้วมือ และใช้เวลา 12-18 เดือนในเล็บนิ้วเท้า

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับเล็บ

1. cuticle remover เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้เพื่อลอกส่วนของเนื้อเยื่อบริเวณเล็บ
2. cuticle softener เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ช่วยให้เนื้อเยื่อบริเวณขอบเล็บ (cuticle)อ่อนตัวลงช่วยให้การลอกง่ายขึ้น
3. nail bleach เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสาอางใช้ฟอกเล็บ มีส่วนประกอบของสารฟอกสีใช้ในกรณีเล็บเปลี่ยนสีจากปกติ เช่น เล็บเหลืองจากการสูบบุหรี่จัด
4. nail cream เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทครีมช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่เล็บป้องกันเล็บเปราะแห้ง
5. nail strengthener เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้เล็บแข็งและป้องกันเล็บแห้ง และเปราะ
6. nail polish เป็นผลิตภัณฑ์ขัดเล็บเพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิต กระตุ้นการงอกของเล็บ
7. nail lacquer เป็นผลิตภัณฑ์น้ำยาทาเล็บ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่
base coat และ top coat ซึ่งเป็นน้ำยาที่ใช้ทาทับยาทาเล็บเพื่อป้องกันไม่ให้ฟิล์มที่ทำไว้เสียหรือถูกทำลายไป
8. enamel remover เป็นน้ำยาที่ใช้ล้างยาทาเล็บออก
9. nail drier เป็นน้ำยาที่ทับยาทาเล็บเพื่อช่วยให้ยาทาเล็บแห้งเร็วขึ้น
10. plastic fingernail และ elongators เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกใช้แทนชั่วคราวสำหรับเล็บที่แตกหัก
11. nail mending compositions เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ติดส่วนของเล็บที่หัก หรือแตกให้อยู่ในสภาพเดิม


วิดีโอเสริม

https://www.youtube.com/watch?v=DjKzpjHWSZI 






วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 2 ความรู้เรื่อง BLOG


ความรู้เรื่อง BLOG 
                    Image result for blogger                         
                          Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้นผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaqเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจากการเขียนเป็นงานอดิเรกของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูลตั้งแต่เรื่องการเมืองไปจนกระทั่งเรื่องราวของการประชุมระดับชาติ
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย





blog มีส่วนประกอบที่สำคัญๆ และการใช้ใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของ blog ดังนี้


1. ชื่อบล็อก (ฺBlog Title) ส่วนของ Blog Title นี้ก็จะเป็นชื่อบล็อกนั้น
2. แท็กไลน์ (Subtitle หรือ Tag line)ตรงส่วนนี้จะเป็นคำจำกัดความของเว็บ หรือสโลแกนเก๋ ๆ ที่ใช้อธิบายถึงตัวบล็อกโดยรวม โดยตัวแท็กไลน์นี้ จะมีก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ เพราะมันไม่สำคัญเท่ากับชื่อบล็อก
3. วันที่และเวลา (Date & Time Stamp)เป็นวันที่ และบางทีอาจมีเวลากำกับอยู่ด้วย ตัววันที่และเวลานี้ จะเป็นตัวบอกว่าบทความในบล็อกนั้นเขียนขึ้นมาเมื่อไหร่ บางครั้งอาจมีวันที่ระบุอยู่ในส่วนของ comment ด้วย ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกว่า comment นั้นเขียนเข้ามาเมื่อไหร่เช่นกัน
4. ชื่อบทความ (Entry Title)ชื่อเรื่องของบทความที่เขียนในบล็อก
5. ตัวเนื้อหาบทความ (Entry’s Main Body)อาจเป็นตัวหนังสือ หรืออาจเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรือแอนิเมชั่น เป็นต้น โดยส่วนประกอบเหล่านี้จะรวมเป็นส่วนเนื้อหาของบทความ
6. ชื่อผู้เขียน (Blog Author)บางบล็อก อาจมีการระบุชื่อผู้เขียนไว้ในบล็อกด้วย โดยตำแหน่งที่จะใส่ชื่อผู้เขียนนั้น สามารถไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ เช่นด้านข้างของหน้าบล็อก (sidebar) หรืออยู่ในตัวบทความก็ได้
7. คอมเม้นต์ (Comment tag)เป็นลิงค์ที่ให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่อกรอกคอมเม้นต์ให้กับบล็อกนั้น ๆ หรืออ่านคอมเม้นต์ ที่มีคนเขียนคอมเม้นต์เข้ามา
8. ลิงค์ถาวร (Permalink) เราสามารถเรียกทับศัพท์ได้ว่า เพอร์มาลิ้งค์ เจ้าลิงค์ตัวนี้คือลิงค์ที่ไปหา url ของบทความนั้น ๆ โดยตรง มีประโยชน์สำหรับ blogger คนอื่น ๆ ที่อยากจะทำลิงค์หาบทความของเราโดยตรง ก็จะสามารถหา permalink ได้อย่างง่ายดาย โดย url ของ permalink นี้จะไม่เปลี่ยนไปตามวันและเวลาเหมือน link ของหน้าแรกของบล็อกที่บทความจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
9. ปฎิทิน (Calendar)บล็อกบางแห่งอาจมีปฎิทินอยู่ด้วย โดยในปฎิทินนั้นสามารถคลิกตามวันที่ เพื่ออ่านบทความของวันที่นั้น ๆ ได้
10. บทความย้อนหลัง (Archives)บทความเก่า หรือบทความย้อนหลัง อาจมีการจัดเตรียมไว้โดยเจ้าของบล็อก โดยบล็อกแต่ละแห่งอาจจัดเรียงบทความย้อนหลัง ไม่เหมือนกัน เช่นจัดเรียงรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน หรือจะ list บทความทั้งหมดออกมาเลยก็ได้
11. ลิงค์ไปยังเว็บอื่น (Links)เป็นจุดเด่นและความสนุกของบล็อกอีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียวครับ โดยบล็อกแต่ละแห่ง อาจมีลิงค์ไปยังเว็บอื่นหลากหลายเว็บ บางครั้งเราสามารถเรียก link พวกนี้ว่า blogroll
12. RSS หรือ XMLตัว RSS นี้อาจมีเตรียมไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับ Blogware หรือ Blog Host ที่เราเลือกใช้ เช่น WordPress หรือ MovableType นั้นจะมี RSS ลิงค์ไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ โดยเจ้า RSS Feed นี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงบทความของเราได้ง่ายขึ้น โดยการใช้โปรแกรมช่วยอ่าน Feed ได้ด้วย บางครั้งนักเขียน Blog คนอื่น ก็อาจใช้ RSS Feed นี้เพื่อประโยชน์ในการดึงข้อมูลไปแสดงในเว็บ หรือบล็อกของตนได้




แตกต่างจากเว็บไซต์อย่างไร?
ในเบื้องต้น Blog จะแตกต่างจากเว็บไซต์แบบ Static ตรงที่ Blog จะมีเรื่องให้น่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็นบทความใหม่ ๆ ที่มีให้อ่านมากกว่า มีพื้นที่ให้ผู้อ่านได้โต้ตอบได้ จนกระทั่งมีผู้กล่าวไว้ว่า Blog จะมาแทนที่เว็บไซต์นิ่ง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนโบรชัวร์ออนไลน์
สำหรับประเด็นที่ทำให้ Blog แตกต่างจากเว็บไซต์ทั่วไป มีดังนี้
1.มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้เขียนและผู้อ่านได้ หรือที่เราเรียกว่า Interactive นั่นเอง
2.บทความใน Blog จะเขียนในรูปแบบที่เป็นกันเอง และดูเหมือนการสนทนา มากกว่าในเว็บไซต์
3.ระบบที่ใช้เขียน Blog นั้นง่าย ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเซียนคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเขียน Blog ได้
4.อัพเดทได้บ่อยมาก และยิ่งอัพเดทบ่อย จะยิ่งดีต่อการมาเก็บข้อมูลของ Search Engine นะครับ นั่นจะทำให้ตำแหน่งผลการค้นหาของเราใน Search Engine นั้นสูงตามไปด้วย
5.Blog เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำการตลาดแบบไวรัส (Viral Marketing)



บล็อก = มาร์เก็ตติ้งทูลใหม่

มากกว่า 1 แสนรายเป็นจำนวนที่ไม่น้อยเลยในสายตานักการตลาด นอกจากจะสะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว เช่น กิจกรรมการเขียนไดอารี่เคยเป็นเรื่องส่วนตัวได้กลายเป็นกิจกรรมสาธารณะที่ใครก็ได้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเพื่อนหรือคนรู้จักก็สามารถเข้ามาอ่านได้
แต่ก้าวต่อไปที่น่าจับตาก็คือ จะใช้ประโยชน์จากช่องทางใหม่ สื่อใหม่นี้ได้เช่นไร โดยเฉพาะในเรื่องของธุรกิจที่หลายคนเริ่มมองเป็นเครื่องมือทางการตลาดตัวใหม่ที่ทรงพลังไม่แพ้สื่อแบบเก่า
ในสหรัฐฯ ผู้เขียนบล็อกยอดนิยมหลายรายได้รับการมองไม่ต่างจากคอลัมนิสต์ดังๆ หรือนักข่าวที่สังกัดสื่อมวลชนแบบเดิมเช่น แมกกาซีน หนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือทีวี
ตัวอย่างเช่น บล็อกเกอร์ที่เขียนวิจารณ์หนังสือเป็นประจำจะได้รับหนังสือจากสำนักพิมพ์ต่างๆ ส่งให้รีวิว หรือเชิญมางานเปิดตัวหนังสือ บางรายที่เขียนแนะนำหนังก็ถูกค่ายหนังฮอลลีวู้ดเชิญมาร่วมงานรอบปฐมทัศน์ตามเมืองใหญ่ต่างๆ ด้วยซ้ำไป ซึ่งในวงการมาร์เก็ตติ้งอเมริกันกำลังสนใจประเด็นนี้มาก และเป็นการแนะนำสินค้าตรงลงไปยังกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ หรือผู้มีอิทธิพลต่อความเห็นของสาธารณชนอย่างแท้จริง
ในเมืองไทย ถึงแม้ส่วนใหญ่จะเป็นเว็บไดอารี่ที่เขียนเล่าเรื่องราวส่วนตัว แต่อิทธิพลที่ส่งผลถึงธุรกิจก็เริ่มเห็นได้ชัด เพราะความเห็นส่วนตัวที่เคยบอกเล่าคุยกันเฉพาะเพื่อนฝูงใกล้ชิด ได้กลายมาเป็นความเห็นสาธารณะที่คนทั้งโลกที่ใช้ภาษาไทยเปิดดูได้ไม่ยาก เช่น หนังเรื่องใหม่ที่เพิ่งเข้าโรงชอบไม่ชอบเพราะอะไร ทำไมไม่ชอบเพลงเบิร์ดชุดใหม่ หรือแม้กระทั่ง ไม่ชอบชาเขียวรสใหม่ คิดยังไงกับแชมพูที่ทำให้ผมร่วง ยี่ห้ออะไร ทำไมหนังสือพิมพ์ไม่ยอมบอกยี่ห้อ โปรโมชั่นมือถือใหม่ทำไมมันห่วยแบบนี้
พูดง่ายๆ ก็คือ ผลกระทบที่ธุรกิจไทยจะต้องเจอในอนาคตอันใกล้นี้ก็คือ ความเห็นจากคนธรรมดาทั่วไปที่เขียนบล็อกได้เริ่มกลายมาเป็น “ความเห็นชี้นำ” ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ไม่ต่างอะไรจากสื่อมวลชน หรืออาจจะแรงกว่าเสียด้วยซ้ำ
เท่าที่ผ่านมาวงการหนังที่จัดว่าไวต่อสื่อใหม่ๆ อย่างอินเทอร์เน็ตนี้ มากกว่าวงการอื่น ได้เริ่มเข้าไปโฆษณาและมีกิจกรรมมาร์เก็ตติ้งกับผู้ให้บริการบล็อกบางรายในบ้านเรากันบ้างแล้ว
ดูเหมือนสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ Blog หรือ ไดอารี่ออนไลน์ ทำให้รอยแบ่งระหว่าง “สื่อ” กับ “ผู้อ่าน” เริ่มเลือนรางลง ในยุคของบล็อกครองเน็ตแบบนี้ ดูจะแยกยากเหลือเกินว่าอะไรคือ “คอลัมนิสต์” ในหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร และอะไรคือ บล็อก
ในทางกลับกัน เว็บบล็อกและไดอารี่ก็อาจเป็นแหล่งข้อมูลการตลาดชั้นดีสำหรับวงการมาร์เก็ตติ้งที่อยากจะรู้ข้อมูลคร่าวๆ หรือหัวข้อแปลกๆ ที่งานวิจัยตลาดทั่วไปไม่มีให้ หรือเสียค่าใช้จ่ายสูงเกินไป เช่น เด็กสาวม.ปลายต่างจังหวัดชอบใช้ปากกายี่ห้อไหน แนะนำขนมอะไรให้เพื่อน ซื้อช็อกโกแลตอะไรเป็นของขวัญให้เพื่อน สาวออฟฟิศเมาท์ให้เพื่อนฟังว่าไปเอ็มเคแล้วกินอะไร ไม่กินอะไร หนุ่มวัยทำงานกินเหล้ากับเพื่อนที่ผับวันก่อนสั่งเหล้ายี่ห้ออะไร หรือดื่มเบียร์อะไร ฯลฯ
แน่นอนว่า ข้อมูลพวกนี้ไม่ใช่งานวิจัยตลาดที่มีคุณภาพ หรือถูกหลักวิชาการ แต่ในแง่ความไวในการมองมาร์เก็ตเทรนด์แล้ว คงบอกได้ว่า ถ้าใครเจอเทรนด์ใหม่ๆ จากการอ่านเว็บบล็อกแล้วละก็ ขอโดนๆ สักรายก็น่าจะคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม เพราะหาไม่ง่ายที่ใครจะเล่าความเห็นในชีวิตตัวเองได้มากมายเหมือนกับในเว็บบล็อกหรือไดอารี่ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสื่อใหม่จริงๆ




Pro Blog Service


“กระแสบล็อกจะเริ่มมีใช้ในทางธุรกิจมากขึ้น ใช้เป็นมาร์เก็ตติ้งทูลในการทำตลาดผลิตภัณฑ์ และเป็นสื่อที่ใช้ในการมาร์เก็ตติ้ง” กติกา สายเสนีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายไอทีของบริษัทโฮสทิฟาย (www.hostify.com) นอกจากนี้ ยังที่รู้จักในวงการอินเทอร์เน็ตและไดอารี่ออนไลน์ในไทยยุคแรกๆ ว่า “เก่ง” (www.keng.com) กล่าวออกความเห็นถึงอนาคตของบล็อกในไทยและต่างแดน ที่ปัจจุบันพลิกโฉมออกสู่วงกว้างมากกว่าในยุคแรกมาก
“ตัวบล็อกจะมีความเฟรนด์ลี่มากกว่าทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน ซึ่งเมืองไทยส่วนใหญ่ยังไม่เห็นตรงจุดนี้ มีใช้ในเชิงส่วนตัวเหมือนไดอารี่มากกว่า” กติกากล่าว พร้อมชี้ประเด็นสำคัญต่อว่า ในเมืองนอกมีการใช้เพื่อธุรกิจมากกว่าในไทย จนภาคธุรกิจทางโน้นเริ่มสนใจกันอย่างจริงจัง
“แบรนด์ดังๆ อย่างเช่น Vespa มีการจ้างพนักงานฟูลไทม์ 2 คนมาคอยอัพเดตข้อมูลต่างๆ ลงเว็บ (www.vespaway.com) สำหรับกลุ่มคนที่สนใจ เหมือนเป็นการสร้าง brand awareness ขึ้นตลอดเวลา”
นอกจากนี้ กติกายังได้ยกตัวอย่างที่สร้างความฮือฮาจนเว็บไซต์มาร์เก็ตติ้งใหญ่ๆ ในอเมริกาได้พูดถึงเคสนี้กันอย่างมากมาย เช่น กรณีของรถเช่า Budget ในอเมริกาที่ออกแคมเปญไล่ล่าหาขุมทรัพย์ทั่วประเทศ
แทนที่จะเล่นผ่านสื่อทั่วไป ทางรถเช่าบัดเจ็ตกลับใช้วิธีเล่นเกมและประชาสัมพันธ์ผ่านบล็อกไซต์ www.upyourbudget.com แล้วนำสติกเกอร์ไปแปะซ่อนไว้ตามเมืองต่างๆ 16 เมืองทั่วสหรัฐฯ โดยจัดสัปดาห์ละ 1 เมือง จากนั้นก็ลงคำใบ้เป็นคลิปวิดีโอ ถ่ายตามสถานที่ต่างๆ ของเมืองพอเป็นแนวทางหาสติกเกอร์ให้เจอ ใครที่พบจะได้รางวัลใหญ่โดยแจกสัปดาห์ละ 1 หมื่นเหรียญ โดยผู้ชนะจะต้องเขียนบทความอธิบายมาลงบล็อกนี้ด้วยว่า หาเจอได้ยังไง ตีความคำใบ้ออกอย่างไร
กติกาได้แนะต่อว่า การใช้บล็อกเพื่องานพีอาร์เชิงธุรกิจยังมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะจากที่เคยอ่านผลการศึกษาในสหรัฐฯ มาพบว่า มีผู้อ่านเชื่อถือในข่าวสารที่เสนอโดยบรรดาบล็อกเกอร์ทั้งหลาย มากกว่าข่าวที่เสนอจากสื่อมวลชนทั่วไปเสียอีก
ความเห็นนี้สอดคล้องกับ ทีปกร วุฒิพิทยามงคล เว็บมาสเตอร์ บล็อกไซต์ Exteen.com ที่มองว่า ในกรณีของบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เช่น ไมโครซอฟท์ หรือกูเกิ้ล ก็มีการใช้ blog เป็นเครื่องมือในการกระจายข่าวประชาสัมพันธ์ กันแล้ว และสร้างความเชื่อใจให้กับยูสเซอร์ทั่วไปได้มากกว่า โดยมีรูปแบบที่เข้าใจง่ายและ feedback กลับได้ทันที
คงต้องติดตามต่อไปว่า นิวมีเดียล่าสุดอย่างเว็บบล็อกนี้จะส่งผลสะเทือนต่อวงการโฆษณาและมาร์เก็ตติ้งเมืองไทยมากแค่ไหน และใครจะไวในเรื่องมาร์เก็ตเทร็นด์กว่ากัน

wjrr.org
สัญญาลักษณ์ของ blogger



ใบงานที่3 พ.ร.บ คอมพิวเตอร์

 

พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 

 

beFirst Network

 พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 คือร่างแก้ใขของ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2550 ที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัย เหมาะสมกับเวลาและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ดังนั้นโครงสร้างของกฎหมายสองฉบับจึงเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ และแน่นอนกฏหมายทั้งสองฉบับก็ต้องมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่หลายประเด็น และหลายๆ ประเด็นก็ถูกตั้งคำถามมากมายว่าเป็นธรรมหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่?
พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 ถูกเริ่มร่างเมื่อปี 2558  และยังคงแก้ใขต่อเนื่องมาถึงปี 2559 ดังนั้น พ.ร.บ    คอมพิวเตอร์ปี 2558 ก็คือฉบับเดียวกันกับพ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 นั่นเอง

ข้อแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 กับ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559

เนื้อหาสำคัญของ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559
การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันที่ 28 เม.ย. จะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ …) พ.ศ… วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ซึ่งเป็นร่าง พ.ร.บ.ที่ปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนที่อยู่เดิมในพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ระบุถึงเหตุผลที่ต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับปัจจุบันว่า “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน…….ซึ่งมีรูปแบบการกระทำความผิดที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว”
สำหรับเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
มาตรา 4
 “ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ อันเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท”
มาตรา 5
กำหนดว่า ถ้าผู้ใดกระทำผิดใน 5 ประการ ได้แก่
1.การเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน
2.นำมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะไปเปิดเผยโดยมิชอบ
3.ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน
4.ดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ และ
5.ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว

beFirst Network
  
 ทั้งหมดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 140,000 บาท ที่สำคัญ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์

สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท
ส่วนเรื่องการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความเสียหายให้กับบุคคล ร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ได้มีกระบวนการจัดการกับผู้กระทำความผิดเข้มข้นมากขึ้นด้วย
โดนบัญญัติในมาตรา 10 ว่า “ผู้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่นและภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท”
มาตรา 10 ดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพื่อเพิ่มบทลงโทษให้มากขึ้นโดยให้ผู้กระทำผิดต้องรับทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ จากเดิมที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กำหนดการกระทำความผิดในลักษณะที่ว่านั้นด้วยการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขณะเดียวกัน ในร่างกฎหมายที่ ครม.เสนอให้ สนช.พิจารณา ยังได้บัญญัติมาตรการทางศาลเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายด้วย โดยมาตรา 11 ระบุว่า “ในคดีซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง
(1) ให้ยึดและทำลายข้อมูล
(2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในสื่อที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์ ตามที่ศาลเห็นสมควร โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา”
เช่นเดียวกับ มาตรา 20 ที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแต่งตั้ง ยื่นคำร้องพร้อมแสดงหลักฐานต่อศาลขอให้มีคำสั่งระงับการเผยแพร่หรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ในที่นี้มีด้วยกัน 4 ประเภท ดังนี้
(1) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.นี้
(2) ข้อมูลที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ 1 หรือลักษณะ 1/1 ตามประมวลกฎหมายอาญา
(3) ข้อที่เป็นความผิดอาญาต่อกฎหมายอื่นซึ่งเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นได้ร้องขอ และข้อมูลนั้นมีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(4) ข้อมูลที่ไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายอื่นแต่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรืออันดีของประชาชน ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่รัฐมนตรีมีมติเป็นเอกฉันท์

beFirst Network

ชำแหละ พ.ร.บ.คอมพ์ฉบับใหม่เปิดช่อง “รมว.ไอซีที” คุมเบ็ดเสร็จทั้งอินเทอร์เน็ต-โซเชียลมีเดีย นักกฎหมายระบุอำนาจล้นฟ้า ตั้ง 2 คณะกรรมการกำกับ สั่งปรับ “คดีแฮก” ไม่ต้องขึ้นศาล ผู้ถูกกล่าวหาไม่มีสิทธิอุทธรณ์ สั่ง “บล็อกเนื้อหา” ได้ทุกประเภทเพื่อความสงบเรียบร้อย จ่อเข้า “สนช.” ศุกร์หน้า

นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ และมีส่วนร่วมในการยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ซึ่งเพิ่งผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (19 เม.ย. 2559) มีความน่ากังวลหลายประเด็นแม้ว่าในภาพรวมจะมีการแก้ไขในประเด็นที่ร่างฉบับก่อนหน้านี้โดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และที่น่าจับตาคือ มีการดึงอำนาจกลับไปให้รัฐมนตรีไอซีที หรือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังจะตั้งขึ้นเยอะมาก จนเรียกว่า เกือบควบคุมระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งบางประเด็นยอมรับได้ แต่ในหลายประเด็นถือว่าน่ากลัวมาก

ตั้ง 2 คณะกรรมการอำนาจล้น

นายไพบูลย์กล่าวว่า ที่น่ากังวลมากที่สุดคือ มาตรา 17/1 ให้อำนาจรัฐมนตรีไอซีทีตั้ง “คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ” ซึ่งกลายเป็นคณะกรรมการที่มีอำนาจมากกว่าศาล เนื่องจากระบุว่าหากเป็นการกระทำความผิดที่มีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจสั่งปรับได้โดยไม่ต้องนำคดีไปศาล และคดีก็จะถือว่าสิ้นสุด
สำหรับความผิดภายใต้กรอบนี้มี 3 มาตรา คือ มาตรา 5 และมาตรา 7 คือการแฮกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โทษจำคุก 2 ปี กับความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยรหัสลับ ตามมาตรา 6 ตามกฎหมายคือโทษจำคุก 1 ปี ถือเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรง จากเดิมที่ต้องเข้าสู่กระบวนการศาล แต่กฎหมายใหม่ให้ส่งไปคณะกรรมการชุดนี้ปรับแล้วคดีจบทันที ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยมีการกระทำผิดหลายกรณีที่มีมูลค่าความเสียหายสูง อาทิ กรณีแฮกระบบ เติมเงินของโทรศัพท์มือถือ แล้วขโมยเงินไปได้หลายล้านบาท เท่ากับยกคดีที่มีมูลค่า เสียหายทางเศรษฐกิจไปให้คนกลุ่มหนึ่งชี้ขาดแทนศาล โดยไม่มีกระบวนการกลั่นกรอง กระบวนการอุทธรณ์ และฎีกา ซึ่งไม่มีประเทศไหนทำกัน

“ถ้ามองในแง่ร้ายจะกลายเป็นว่าเอาอำนาจตุลาการ อำนาจศาลมาอยู่ในรัฐมนตรีกับคณะกรรมการชุดนี้ แต่ร่างกฎหมายใหม่ของไทยกำลังจะบอกว่าความผิดแบบนี้จบได้ที่คณะกรรมการชุดนี้ และ ที่น่ากังวลมาก คือ ร่าง พ.ร.บ.ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติของคณะกรรมการไว้ โดยให้ขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีไอซีทีกำหนด ทั้งให้ถือเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย และที่น่ากลัวไปกว่านั้น คือ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.คอมพ์ตั้งแต่ปี 2550 ที่ผ่านมามีปัญหาตลอด ถือว่าเป็นความล้มเหลวได้ ทั้งการตั้งโดยตำแหน่ง ไม่ได้มาจากความรู้ ความสามารถ ถ้ามองในแง่ดีคืออาจไม่อยาก ให้คดีรกศาล หรือปิดคดีได้เร็วขึ้น แต่พอรวมให้คดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีมาอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการชุดดังกล่าวด้วย จึงมีคดีการแฮกข้อมูลด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศ และเป็นวัตถุประสงค์หลักของการมี พ.ร.บ.นี้ จึงเป็นเรื่องน่ากลัว” นายไพบูลย์กล่าว


beFirst Network

ขณะที่มาตรา 20 เรื่องการบล็อกเว็บไซต์ เดิมจะบล็อกได้เฉพาะความมั่นคงและความผิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ร่าง พ.ร.บ.นี้ มาตรา 20 (3) บล็อกเนื้อหาที่ผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่น และมาตรา 20 (4) บล็อกเนื้อหาที่ไม่ผิดกฎหมายอื่น แต่ขัด ความสงบเรียบร้อย สามารถร้องพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วส่งให้รัฐมนตรีเซ็นเพื่อขอให้ศาลสั่งบล็อกเว็บไซต์ได้เลย ทำให้ทุกความผิดอาญาในการบล็อกเนื้อหาจะใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์แทน โดยตั้ง “คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูล” เพิ่มขึ้นมาโดยรัฐมนตรีไอซีทีเป็นผู้ตั้ง มีอำนาจในการวินิจฉัยบล็อกเว็บไซต์ได้

“เท่ากับว่าแม้ไม่ผิดกฎหมาย แต่รัฐบาลไม่โอเค คณะกรรมการชุดนี้สั่งบล็อกได้ เท่ากับปิดได้หมดทุกโซเชียลมีเดีย เข้าใจว่าตอนนี้รัฐบาลมีปัญหาเรื่องการปราบปรามการแพร่ข้อมูลผ่านสื่อใหม่เยอะ มาตรา 20 (4) ตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ แต่จะมีคำถามเดิม คือ คณะกรรมการเป็นใครมาจากไหน เพราะคนกลุ่มนี้มีอำนาจปิดบล็อกทุกอย่างในประเทศนี้”

และการพิจารณาในรูปแบบของคณะกรรมการ กระบวนการอุทธรณ์จึงไม่มี ช่องทางทำได้เลย ไม่สามารถโต้แย้งได้ ซึ่งไม่ยุติธรรมกับทั้งผู้เสียหายและผู้กระทำความผิด
ทั้งนี้การที่ร่าง พ.ร.บ.ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติ และความรับผิดใด ๆ ของคณะกรรมการชุดนี้ แม้ต่อไปจะบอกว่าจะมีการออกกฎกระทรวงมารองรับ แต่ก็เป็นอำนาจเด็ดขาดของรัฐมนตรีที่จะออกประกาศอะไรก็ได้

อุดช่องโหว่ปัญหา “สแปม”

นายไพบูลย์กล่าวว่า ส่วนที่แก้ไขได้ดีขึ้น คือ การปิดข้อกังวลเกี่ยวกับปัญหาสแปม หรือการส่งข้อความไม่พึงประสงค์ ซึ่งร่างเดิมระบุว่า หากมีการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออีเมล์ โดยไม่ได้เปิดให้ผู้รับแสดงเจตนาปฏิเสธได้ จะถือว่าเป็นความผิด โทษปรับถึง 2 แสนบาท ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ เพราะการส่งข้อความในสื่อโซเชียลมีเดีย ไม่มีฟังก์ชั่นให้ผู้รับแจ้งได้ว่าจะรับหรือไม่รับข้อความ ทำให้ผู้ส่งมีความผิดได้ทันที

COM607_04_Sasitorn - blogger

“ร่างฉบับใหม่มีการปรับแก้ โดยให้รัฐมนตรีไอซีทีออกประกาศแนวทางว่าการรับส่งข้อมูลแบบไหนที่ไม่เข้าข่าย ม.11 สามารถระบุได้ว่า การส่งข้อความผ่านโซเชียล มีเดียแบบไหนที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ที่น่ากังวล คือ ผู้จัดทำร่างประกาศ ทีมงานของรัฐมนตรีจะมีความเข้าใจถึงเรื่องพวกนี้มากแค่ไหน”

ส่วนปัญหามาตรา 14 การนำเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ร่างฉบับใหม่ เพิ่มคำว่า “โดยทุจริตกับโดยหลอกลวง” ทำให้ปัญหาของมาตรานี้ ที่เกรงว่าจะถูกนำไปใช้ในคดีหมิ่นประมาทถูกตัดไป ทำให้กลายเป็นความผิดกรณี “ฟิชชิ่ง” คือ ต้องเป็นการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จแก่ประชาชนโดยการหลอกลวง ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง ซึ่งจะตรงกับวัตถุประสงค์ของกฎหมายมากกว่า ขณะเดียวกันยังนำความผิดในการเผยแพร่เกี่ยวกับสิ่งลามกอนาจารกลับเข้ามาใหม่ โดยรวมถือว่าพอยอมรับได้
ขณะที่มาตรา 15 ว่าด้วยความผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) หรือเจ้าของเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น จะต้องเป็นผู้รับผิดจากการยินยอมให้เผยแพร่ข้อมูลหรือไม่ ร่างฉบับใหม่ได้แก้ให้อำนาจรัฐมนตรีไอซีที ออกประกาศว่าต้องมีกรอบ ขั้นตอนอย่างไรบ้าง ที่จะทำให้ไม่ผิดตามมาตรานี้ แต่ประกาศจะออกมาอย่างไร ยังเป็นคำถาม ซึ่งขึ้นอยู่กับคณะทำงานว่าเข้าใจประเด็นต่าง ๆ มากแค่ไหน เพราะจะกลายเป็นว่ารัฐมนตรีมีอำนาจเข้าไประบุได้ว่าการใช้โซเชียลมีเดียของทุกคน เขียนอะไรได้หรือไม่ได้บ้าง คือ โดยเจตนารมณ์ดี แต่ถ้ามีประกาศที่ห้ามไปหมดทุกอย่างก็จะกลายเป็นการละเมิดสิทธิ์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้

แก้ไม่ตรงจุดฉุดธุรกิจ

ด้านนางภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ ประธานชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ชมรมเห็นประโยชน์ของการมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะอาชญากรรมในโลกออนไลน์ส่งผล กระทบกับการทำงานของผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ หากมีกฎหมายออกมาช่วยได้ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ควรโฟกัสเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับ การสร้างความเสียหายกับระบบต่าง ๆ ไม่ควรรวมถึงเรื่องคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์, การพนัน หรือยาเสพติด เป็นต้น เนื่องจากเป็นการผลักภาระมาที่ ผู้ประกอบการ ซึ่งจะเป็นการทำลายธุรกิจ และผลักดันให้หนีไปตั้งเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศ เพราะหากเปิดในประเทศยุ่งยาก

Marketing Oops!

“เราอยากให้มีกฎหมายเกี่ยวกับคอนเทนต์ แยกต่างหากออกมา ไม่ควรไปรวมอยู่ใน พ.ร.บ.คอมพ์ ถ้ากฎหมายไม่เอื้อต่อธุรกิจ ก็ต้องหนีไปที่อื่น ไม่ใช่ปิดธุรกิจแต่ย้ายฐาน ไปที่อื่น นี่คือสาเหตุที่ต่างชาติไม่เข้ามา ลงทุนในบ้านเราด้วย ซึ่งสวนทางกับนโยบายดิจิทัลอีโคโนมี ดังนั้นการแก้ไขกฎหมายควรมองอย่างรอบด้าน และมีความเข้าใจเทคโนโลยี เพราะถ้าไม่ถูกจุดนอกจากจะจับผู้ร้ายไม่ได้แล้วยังทำให้ธุรกิจไปต่อไม่ได้ด้วย”
พลเมืองเน็ตชี้ขัดหลัก กม.

นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ น่าจะเป็นความพยายาม ของฝ่ายบังคับใช้กฎหมายที่มองว่ามีคดีไปที่ศาลเยอะซึ่งเสียเวลานาน จึงต้องการพยายามที่จะนำคดีที่มีโทษปรับ หรือโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี มาอยู่ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการเพื่อลดภาระของศาล อย่างไรก็ตาม ในการจัดตั้งคณะกรรมการ ตามอำนาจ รมว. ไอซีที ที่น่ากังวลคือกฎหมายไม่มีการกำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำของคณะกรรมการเลย
นอกจากนี้ในส่วนแก้ไขมาตรา 20 ส่วนที่เป็นปัญหามากที่สุด ได้แก่ มาตรา 20 (4) ที่มีการเพิ่มความผิดเกี่ยวกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ “ไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายอื่น” อันมีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งระงับทำการแพร่หลายคือลบข้อมูลได้นั้น ประเด็นนี้ในทางปฏิบัติน่าจะมีปัญหา เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าวขัดกับหลักการกระทำ ความผิดโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งนำไปสู่ การระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น และยังอาจทำให้ผู้ให้บริการ ISP เลือกที่จะถอดเนื้อหาที่ถูกฟ้องร้องออกจาก เว็บไซต์ของตนโดยไม่รอคำสั่งศาลเพื่อความปลอดภัย

รมว.ไอซีทีเตรียมชี้แจง สนช.เอง

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในวันศุกร์ที่ 29 เม.ย.นี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีวาระจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ. 3 ฉบับ ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ได้แก่ พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. …ที่มีการทบทวนใหม่โดยกระทรวงไอซีที และร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.ศ. …และร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ (ฉบับที่…) พ.ศ. …
โดยขณะนี้ได้เตรียมตัวสำหรับการชี้แจงหลักการของการยกร่างกฎหมายแต่ละฉบับด้วยตนเอง หาก สนช.เห็นชอบก็จะถือว่าร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับผ่านการพิจารณาวาระแรก จากนั้นจะตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายแต่ละฉบับเป็นรายมาตรา เพื่อให้มีการปรับแก้ ก่อนส่งกลับให้ สนช.ลงมติในการพิจารณาวาระที่ 3 และเตรียมประกาศบังคับใช้ต่อไป

rpp.pe

“ตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่าจะใช้เวลาแค่ไหนก่อนที่กฎหมายจะประกาศใช้ ต้องหารือกับวิป สนช.ก่อน แต่จะดำเนินการให้เร็วและรอบคอบที่สุด”

รัฐมนตรีไอซีทีกล่าวว่า ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะฉบับเก่าประกาศใช้มาหลายปีแล้ว โดยมุ่งให้ส่งเสริม และสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล จึงต้องประสานเชื่อมต่อกับกฎหมายฉบับอื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาในภาพรวม อาทิ ปัญหาด้านลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา การพนันออนไลน์

“การแก้ไขครั้งนี้ได้ทำให้มีความชัดเจนขึ้นในหลายมาตรา อาทิ ที่เกี่ยวกับการทุจริตฉ้อโกง เพราะกำลังจะส่งเสริมให้มีการค้าออนไลน์มากขึ้น แต่ที่ผ่านมามีหลายกรณีที่เข้าศาลแล้วก็หลุดเยอะ ต้องสร้างความมั่นใจให้ผู้ซื้อผู้ขาย รวมถึงส่วนของอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ต้องให้ชัดเจน เพราะเป็นประเด็นที่มีการถามเยอะว่า มีน้อยไป มากไปหรือไม่ ก็เข้าใจว่าต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ แต่ยืนยันว่าจะไม่ยอมให้มีส่วนไหนของกฎหมายขัดกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลเด็ดขาด”

กรณีที่มีข้อกังวลเรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการที่รัฐมนตรีไอซีทีจะตั้งขึ้น 2 ชุด ยืนยันว่าจะมีการออกกฎหมายลูกมารองรับให้มีความชัดเจนขึ้น ซึ่งไม่ใช้แค่ดุลพินิจของรัฐมนตรีไอซีทีเท่านั้น ต้องให้ ครม.เห็นชอบด้วย เพราะต้องออกแบบเผื่อไว้สำหรับรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดต่อ ๆ ไป จึงต้องมีหลักการที่ชัดเจน

“ยืนยันว่ากระบวนการทางศาลทุกอย่างยังเหมือนเดิม การดำเนินคดี การบล็อกเว็บไซต์หรือข้อมูลต่าง ๆ ต้องไปจบที่ศาล เพียงแต่จะมีการทำบางกระบวนการให้กระชับขึ้นเท่านั้น”

วิศวกรรมซอฟต์แวร์ บูรพา
สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย

Nirundon.com

https://www.youtube.com/watch?v=sTY98N8dhBA


กิจกรรมที่ 3 ประเภทโครงงาน

   มีทั้งหมด 5 ประเภท ประเภทโครงงาน from yanee saechoeng