วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 2 ความรู้เรื่อง BLOG


ความรู้เรื่อง BLOG 
                    Image result for blogger                         
                          Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้นผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaqเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจากการเขียนเป็นงานอดิเรกของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูลตั้งแต่เรื่องการเมืองไปจนกระทั่งเรื่องราวของการประชุมระดับชาติ
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย





blog มีส่วนประกอบที่สำคัญๆ และการใช้ใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของ blog ดังนี้


1. ชื่อบล็อก (ฺBlog Title) ส่วนของ Blog Title นี้ก็จะเป็นชื่อบล็อกนั้น
2. แท็กไลน์ (Subtitle หรือ Tag line)ตรงส่วนนี้จะเป็นคำจำกัดความของเว็บ หรือสโลแกนเก๋ ๆ ที่ใช้อธิบายถึงตัวบล็อกโดยรวม โดยตัวแท็กไลน์นี้ จะมีก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ เพราะมันไม่สำคัญเท่ากับชื่อบล็อก
3. วันที่และเวลา (Date & Time Stamp)เป็นวันที่ และบางทีอาจมีเวลากำกับอยู่ด้วย ตัววันที่และเวลานี้ จะเป็นตัวบอกว่าบทความในบล็อกนั้นเขียนขึ้นมาเมื่อไหร่ บางครั้งอาจมีวันที่ระบุอยู่ในส่วนของ comment ด้วย ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกว่า comment นั้นเขียนเข้ามาเมื่อไหร่เช่นกัน
4. ชื่อบทความ (Entry Title)ชื่อเรื่องของบทความที่เขียนในบล็อก
5. ตัวเนื้อหาบทความ (Entry’s Main Body)อาจเป็นตัวหนังสือ หรืออาจเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรือแอนิเมชั่น เป็นต้น โดยส่วนประกอบเหล่านี้จะรวมเป็นส่วนเนื้อหาของบทความ
6. ชื่อผู้เขียน (Blog Author)บางบล็อก อาจมีการระบุชื่อผู้เขียนไว้ในบล็อกด้วย โดยตำแหน่งที่จะใส่ชื่อผู้เขียนนั้น สามารถไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ เช่นด้านข้างของหน้าบล็อก (sidebar) หรืออยู่ในตัวบทความก็ได้
7. คอมเม้นต์ (Comment tag)เป็นลิงค์ที่ให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่อกรอกคอมเม้นต์ให้กับบล็อกนั้น ๆ หรืออ่านคอมเม้นต์ ที่มีคนเขียนคอมเม้นต์เข้ามา
8. ลิงค์ถาวร (Permalink) เราสามารถเรียกทับศัพท์ได้ว่า เพอร์มาลิ้งค์ เจ้าลิงค์ตัวนี้คือลิงค์ที่ไปหา url ของบทความนั้น ๆ โดยตรง มีประโยชน์สำหรับ blogger คนอื่น ๆ ที่อยากจะทำลิงค์หาบทความของเราโดยตรง ก็จะสามารถหา permalink ได้อย่างง่ายดาย โดย url ของ permalink นี้จะไม่เปลี่ยนไปตามวันและเวลาเหมือน link ของหน้าแรกของบล็อกที่บทความจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
9. ปฎิทิน (Calendar)บล็อกบางแห่งอาจมีปฎิทินอยู่ด้วย โดยในปฎิทินนั้นสามารถคลิกตามวันที่ เพื่ออ่านบทความของวันที่นั้น ๆ ได้
10. บทความย้อนหลัง (Archives)บทความเก่า หรือบทความย้อนหลัง อาจมีการจัดเตรียมไว้โดยเจ้าของบล็อก โดยบล็อกแต่ละแห่งอาจจัดเรียงบทความย้อนหลัง ไม่เหมือนกัน เช่นจัดเรียงรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน หรือจะ list บทความทั้งหมดออกมาเลยก็ได้
11. ลิงค์ไปยังเว็บอื่น (Links)เป็นจุดเด่นและความสนุกของบล็อกอีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียวครับ โดยบล็อกแต่ละแห่ง อาจมีลิงค์ไปยังเว็บอื่นหลากหลายเว็บ บางครั้งเราสามารถเรียก link พวกนี้ว่า blogroll
12. RSS หรือ XMLตัว RSS นี้อาจมีเตรียมไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับ Blogware หรือ Blog Host ที่เราเลือกใช้ เช่น WordPress หรือ MovableType นั้นจะมี RSS ลิงค์ไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ โดยเจ้า RSS Feed นี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงบทความของเราได้ง่ายขึ้น โดยการใช้โปรแกรมช่วยอ่าน Feed ได้ด้วย บางครั้งนักเขียน Blog คนอื่น ก็อาจใช้ RSS Feed นี้เพื่อประโยชน์ในการดึงข้อมูลไปแสดงในเว็บ หรือบล็อกของตนได้




แตกต่างจากเว็บไซต์อย่างไร?
ในเบื้องต้น Blog จะแตกต่างจากเว็บไซต์แบบ Static ตรงที่ Blog จะมีเรื่องให้น่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็นบทความใหม่ ๆ ที่มีให้อ่านมากกว่า มีพื้นที่ให้ผู้อ่านได้โต้ตอบได้ จนกระทั่งมีผู้กล่าวไว้ว่า Blog จะมาแทนที่เว็บไซต์นิ่ง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนโบรชัวร์ออนไลน์
สำหรับประเด็นที่ทำให้ Blog แตกต่างจากเว็บไซต์ทั่วไป มีดังนี้
1.มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้เขียนและผู้อ่านได้ หรือที่เราเรียกว่า Interactive นั่นเอง
2.บทความใน Blog จะเขียนในรูปแบบที่เป็นกันเอง และดูเหมือนการสนทนา มากกว่าในเว็บไซต์
3.ระบบที่ใช้เขียน Blog นั้นง่าย ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเซียนคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเขียน Blog ได้
4.อัพเดทได้บ่อยมาก และยิ่งอัพเดทบ่อย จะยิ่งดีต่อการมาเก็บข้อมูลของ Search Engine นะครับ นั่นจะทำให้ตำแหน่งผลการค้นหาของเราใน Search Engine นั้นสูงตามไปด้วย
5.Blog เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำการตลาดแบบไวรัส (Viral Marketing)



บล็อก = มาร์เก็ตติ้งทูลใหม่

มากกว่า 1 แสนรายเป็นจำนวนที่ไม่น้อยเลยในสายตานักการตลาด นอกจากจะสะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว เช่น กิจกรรมการเขียนไดอารี่เคยเป็นเรื่องส่วนตัวได้กลายเป็นกิจกรรมสาธารณะที่ใครก็ได้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเพื่อนหรือคนรู้จักก็สามารถเข้ามาอ่านได้
แต่ก้าวต่อไปที่น่าจับตาก็คือ จะใช้ประโยชน์จากช่องทางใหม่ สื่อใหม่นี้ได้เช่นไร โดยเฉพาะในเรื่องของธุรกิจที่หลายคนเริ่มมองเป็นเครื่องมือทางการตลาดตัวใหม่ที่ทรงพลังไม่แพ้สื่อแบบเก่า
ในสหรัฐฯ ผู้เขียนบล็อกยอดนิยมหลายรายได้รับการมองไม่ต่างจากคอลัมนิสต์ดังๆ หรือนักข่าวที่สังกัดสื่อมวลชนแบบเดิมเช่น แมกกาซีน หนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือทีวี
ตัวอย่างเช่น บล็อกเกอร์ที่เขียนวิจารณ์หนังสือเป็นประจำจะได้รับหนังสือจากสำนักพิมพ์ต่างๆ ส่งให้รีวิว หรือเชิญมางานเปิดตัวหนังสือ บางรายที่เขียนแนะนำหนังก็ถูกค่ายหนังฮอลลีวู้ดเชิญมาร่วมงานรอบปฐมทัศน์ตามเมืองใหญ่ต่างๆ ด้วยซ้ำไป ซึ่งในวงการมาร์เก็ตติ้งอเมริกันกำลังสนใจประเด็นนี้มาก และเป็นการแนะนำสินค้าตรงลงไปยังกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ หรือผู้มีอิทธิพลต่อความเห็นของสาธารณชนอย่างแท้จริง
ในเมืองไทย ถึงแม้ส่วนใหญ่จะเป็นเว็บไดอารี่ที่เขียนเล่าเรื่องราวส่วนตัว แต่อิทธิพลที่ส่งผลถึงธุรกิจก็เริ่มเห็นได้ชัด เพราะความเห็นส่วนตัวที่เคยบอกเล่าคุยกันเฉพาะเพื่อนฝูงใกล้ชิด ได้กลายมาเป็นความเห็นสาธารณะที่คนทั้งโลกที่ใช้ภาษาไทยเปิดดูได้ไม่ยาก เช่น หนังเรื่องใหม่ที่เพิ่งเข้าโรงชอบไม่ชอบเพราะอะไร ทำไมไม่ชอบเพลงเบิร์ดชุดใหม่ หรือแม้กระทั่ง ไม่ชอบชาเขียวรสใหม่ คิดยังไงกับแชมพูที่ทำให้ผมร่วง ยี่ห้ออะไร ทำไมหนังสือพิมพ์ไม่ยอมบอกยี่ห้อ โปรโมชั่นมือถือใหม่ทำไมมันห่วยแบบนี้
พูดง่ายๆ ก็คือ ผลกระทบที่ธุรกิจไทยจะต้องเจอในอนาคตอันใกล้นี้ก็คือ ความเห็นจากคนธรรมดาทั่วไปที่เขียนบล็อกได้เริ่มกลายมาเป็น “ความเห็นชี้นำ” ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ไม่ต่างอะไรจากสื่อมวลชน หรืออาจจะแรงกว่าเสียด้วยซ้ำ
เท่าที่ผ่านมาวงการหนังที่จัดว่าไวต่อสื่อใหม่ๆ อย่างอินเทอร์เน็ตนี้ มากกว่าวงการอื่น ได้เริ่มเข้าไปโฆษณาและมีกิจกรรมมาร์เก็ตติ้งกับผู้ให้บริการบล็อกบางรายในบ้านเรากันบ้างแล้ว
ดูเหมือนสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ Blog หรือ ไดอารี่ออนไลน์ ทำให้รอยแบ่งระหว่าง “สื่อ” กับ “ผู้อ่าน” เริ่มเลือนรางลง ในยุคของบล็อกครองเน็ตแบบนี้ ดูจะแยกยากเหลือเกินว่าอะไรคือ “คอลัมนิสต์” ในหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร และอะไรคือ บล็อก
ในทางกลับกัน เว็บบล็อกและไดอารี่ก็อาจเป็นแหล่งข้อมูลการตลาดชั้นดีสำหรับวงการมาร์เก็ตติ้งที่อยากจะรู้ข้อมูลคร่าวๆ หรือหัวข้อแปลกๆ ที่งานวิจัยตลาดทั่วไปไม่มีให้ หรือเสียค่าใช้จ่ายสูงเกินไป เช่น เด็กสาวม.ปลายต่างจังหวัดชอบใช้ปากกายี่ห้อไหน แนะนำขนมอะไรให้เพื่อน ซื้อช็อกโกแลตอะไรเป็นของขวัญให้เพื่อน สาวออฟฟิศเมาท์ให้เพื่อนฟังว่าไปเอ็มเคแล้วกินอะไร ไม่กินอะไร หนุ่มวัยทำงานกินเหล้ากับเพื่อนที่ผับวันก่อนสั่งเหล้ายี่ห้ออะไร หรือดื่มเบียร์อะไร ฯลฯ
แน่นอนว่า ข้อมูลพวกนี้ไม่ใช่งานวิจัยตลาดที่มีคุณภาพ หรือถูกหลักวิชาการ แต่ในแง่ความไวในการมองมาร์เก็ตเทรนด์แล้ว คงบอกได้ว่า ถ้าใครเจอเทรนด์ใหม่ๆ จากการอ่านเว็บบล็อกแล้วละก็ ขอโดนๆ สักรายก็น่าจะคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม เพราะหาไม่ง่ายที่ใครจะเล่าความเห็นในชีวิตตัวเองได้มากมายเหมือนกับในเว็บบล็อกหรือไดอารี่ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสื่อใหม่จริงๆ




Pro Blog Service


“กระแสบล็อกจะเริ่มมีใช้ในทางธุรกิจมากขึ้น ใช้เป็นมาร์เก็ตติ้งทูลในการทำตลาดผลิตภัณฑ์ และเป็นสื่อที่ใช้ในการมาร์เก็ตติ้ง” กติกา สายเสนีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายไอทีของบริษัทโฮสทิฟาย (www.hostify.com) นอกจากนี้ ยังที่รู้จักในวงการอินเทอร์เน็ตและไดอารี่ออนไลน์ในไทยยุคแรกๆ ว่า “เก่ง” (www.keng.com) กล่าวออกความเห็นถึงอนาคตของบล็อกในไทยและต่างแดน ที่ปัจจุบันพลิกโฉมออกสู่วงกว้างมากกว่าในยุคแรกมาก
“ตัวบล็อกจะมีความเฟรนด์ลี่มากกว่าทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน ซึ่งเมืองไทยส่วนใหญ่ยังไม่เห็นตรงจุดนี้ มีใช้ในเชิงส่วนตัวเหมือนไดอารี่มากกว่า” กติกากล่าว พร้อมชี้ประเด็นสำคัญต่อว่า ในเมืองนอกมีการใช้เพื่อธุรกิจมากกว่าในไทย จนภาคธุรกิจทางโน้นเริ่มสนใจกันอย่างจริงจัง
“แบรนด์ดังๆ อย่างเช่น Vespa มีการจ้างพนักงานฟูลไทม์ 2 คนมาคอยอัพเดตข้อมูลต่างๆ ลงเว็บ (www.vespaway.com) สำหรับกลุ่มคนที่สนใจ เหมือนเป็นการสร้าง brand awareness ขึ้นตลอดเวลา”
นอกจากนี้ กติกายังได้ยกตัวอย่างที่สร้างความฮือฮาจนเว็บไซต์มาร์เก็ตติ้งใหญ่ๆ ในอเมริกาได้พูดถึงเคสนี้กันอย่างมากมาย เช่น กรณีของรถเช่า Budget ในอเมริกาที่ออกแคมเปญไล่ล่าหาขุมทรัพย์ทั่วประเทศ
แทนที่จะเล่นผ่านสื่อทั่วไป ทางรถเช่าบัดเจ็ตกลับใช้วิธีเล่นเกมและประชาสัมพันธ์ผ่านบล็อกไซต์ www.upyourbudget.com แล้วนำสติกเกอร์ไปแปะซ่อนไว้ตามเมืองต่างๆ 16 เมืองทั่วสหรัฐฯ โดยจัดสัปดาห์ละ 1 เมือง จากนั้นก็ลงคำใบ้เป็นคลิปวิดีโอ ถ่ายตามสถานที่ต่างๆ ของเมืองพอเป็นแนวทางหาสติกเกอร์ให้เจอ ใครที่พบจะได้รางวัลใหญ่โดยแจกสัปดาห์ละ 1 หมื่นเหรียญ โดยผู้ชนะจะต้องเขียนบทความอธิบายมาลงบล็อกนี้ด้วยว่า หาเจอได้ยังไง ตีความคำใบ้ออกอย่างไร
กติกาได้แนะต่อว่า การใช้บล็อกเพื่องานพีอาร์เชิงธุรกิจยังมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะจากที่เคยอ่านผลการศึกษาในสหรัฐฯ มาพบว่า มีผู้อ่านเชื่อถือในข่าวสารที่เสนอโดยบรรดาบล็อกเกอร์ทั้งหลาย มากกว่าข่าวที่เสนอจากสื่อมวลชนทั่วไปเสียอีก
ความเห็นนี้สอดคล้องกับ ทีปกร วุฒิพิทยามงคล เว็บมาสเตอร์ บล็อกไซต์ Exteen.com ที่มองว่า ในกรณีของบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เช่น ไมโครซอฟท์ หรือกูเกิ้ล ก็มีการใช้ blog เป็นเครื่องมือในการกระจายข่าวประชาสัมพันธ์ กันแล้ว และสร้างความเชื่อใจให้กับยูสเซอร์ทั่วไปได้มากกว่า โดยมีรูปแบบที่เข้าใจง่ายและ feedback กลับได้ทันที
คงต้องติดตามต่อไปว่า นิวมีเดียล่าสุดอย่างเว็บบล็อกนี้จะส่งผลสะเทือนต่อวงการโฆษณาและมาร์เก็ตติ้งเมืองไทยมากแค่ไหน และใครจะไวในเรื่องมาร์เก็ตเทร็นด์กว่ากัน

wjrr.org
สัญญาลักษณ์ของ blogger



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กิจกรรมที่ 3 ประเภทโครงงาน

   มีทั้งหมด 5 ประเภท ประเภทโครงงาน from yanee saechoeng